Trident Consultant เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยองค์กร โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และจัดการฝึกอบรมการบริหารเหตุการณ์วิกฤตขององค์กรภาครัฐและเอกชน
tel : 08 9134 3134
email : support@trident-consultant.com
-Andy Gilman
Definition of Crisis:
เหตุวิกฤต คือ เหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและสามารถสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งต้องได้รับการดูแลแก้ไขในทันที วิกฤตการณ์สามารถเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อองค์ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงทางการ
เงิน ตลอดจนชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากภัยธรรมชาติ ฝีมือมนุษย์ หรืออุบัติเหตุก็ได้ อย่างไรก็ตามเราสามารถให้คำจำกัดความ “เหตุวิกฤต” ได้ ดังนี้
เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
สร้างความเสียหายร้ายแรง
ส่งผลกระทบระยะยาว
Crisis Management:
การบริหารเหตุวิกฤต คือ กระบวนการหรือกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการจัดการกับสถานการณ์วิกฤตหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรหรือกิจการได้อย่างรุนแรง กระบวนการนี้มุ่งเน้นการวางแผนการจัดการวิกฤตและการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในขณะวิกฤตเพื่อรักษาความรู้สึกของความมั่นใจและความเชื่อมั่นจากลูกค้า คู่ค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารเหตุวิกฤตเป็นเครื่องมือที่ใช้กันในหลายสาขาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สามารถรับมือและตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ
prevention
มีระบบและแผนรองรับ
response
ตอบสนองอย่างรวดเร็ว
เพื่อลดความเสียหาย
recovery
ฟื้นฟูให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
Soft Target:
วิกฤตการณ์ต่างๆ สามารถเกิดได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หรือหน่วยงานของรัฐ ไปจนถึงร้านค้าปลีกในเมืองเล็กๆ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุวิกฤตมีแนวโน้มสูงขึ้นก็คือ “มนุษย์” ดังนั้นองค์กรหรือสถานที่ที่มีความเกี่ยวพันกับประชาชนมากเท่าใด ก็นับได้ว่ามีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุวิกฤตที่กระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เรียกว่า “Soft Target” ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ ดังนี้
เป็นสถานที่สาธารณะ
มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก
ยากต่อการระวังป้องกัน
ภาพจาก brandthink.me
Case Study
20 เมษายน 2553 แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล Deepwater Horizon ของบริษัท BP (British Petroleum) ในอ่าวเม็กซิโกเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ในเวลานั้นมีพนักงานทำงานอยู่ 126 คน และส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือให้อพยพได้ทันเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่แท้จริงได้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมทางทะเล เนื่องจากน้ำมันจำนวนมากถูกปล่อยออกมาได้พรากสิ่งมีชีวิตไปเป็นจำนวนมาก และอีกหลายชีวิตได้ล้มหายตายจากไปในเวลาถัดมา
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน
Case Study
8 กุมภาพันธ์ 2563 เกิดเหตุการณ์กราดยิง (Active Shooter) โดย จ.ส.อ. จักรพันธ์ ถมมา เริ่มตั้งแต่ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ นครราชสีมา จนถึงห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
ทำให้มีประชาชนและพนักงานของห้างติดอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก
จากความพยายามในการช่วยเหลือตัวประกันของเจ้าหน้าที่
เช้าวันที่ 9 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 09.00 น.
จ.ส.อ. จักรพันธ์ ได้ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเสียชีวิต
ก่อนจะช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือออกมาได้สำเร็จ
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 30 ราย บาดเจ็บอีก 58 ราย
ภาพจาก voicetv.co.th
ภาพจาก mgronline.com
Case Study
29 ตุลาคม 2565 นักท่องเที่ยวนับร้อยคนเหยียบกันตายระหว่างเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนที่ย่านอิแทวอน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีหลังจากที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาดโควิด-19
นักท่องเที่ยวจำนวนมากแห่แหนเข้าไปที่ซอยเล็กข้างๆ
โรงแรมแฮมิลตัน ที่มีกว้างแค่ราว 3 เมตรเศษ และเป็นทางลาดชัน ความโกลาหลเริ่มจากการเบียดเสียดและเริ่มมีการดันกันจนคนที่อยู่ในทางลาดสูงกว่าล้มลงทับคนข้างล่างต่อกันเป็นโดมิโน น้ำหนักอันมหาศาลที่กดทับส่งผลให้ผู้ที่อยู่ด้านล่างขาดอากาศหายใจ
และเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 156 ราย บาดเจ็บอีก 172 ราย
01
Provide an overview of the trends in crisis events
บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแน้วโน้มของวิกฤตการณ์
และให้คำปรึกษาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและนำไปสู่วิกฤตการณ์ขององค์กร
02
Table - Top Exercise
ฝึกปฏิบัติการบริหารเหตุวิกฤตในระดับผู้บริหารเหตุการณ์
03
Field Training Exercise
ฝึกการบริหารเหตุวิกฤตในสถานการณ์เสมือนจริง
ทั้งในระดับผู้บริหารเหตุวิกฤตและผู้ปฏิบัติ
ด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้โลกหมุนไปไวกว่าที่เราเคยรู้จัก และมันได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเจอขึ้นมาอยู่เสมอ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า Contingency plan หรือแผนเผชิญเหตุวิกฤตขององค์กรคุณ ยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ที่สำคัญที่สุด คุณเคยหยิบมันขึ้นมาอ่านบ้างหรือไม่ ?
หากคุณและทีมที่จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเมื่อเกิดเหตุวิกฤต ได้เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยนระดมความคิดถึงแนวโน้มและปัจจัยของวิกฤตการณ์ใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลเสียหายต่อองค์กร
ด้วยบรรยากาศที่เปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิด และด้วย Mindset & Tool ที่เรามอบให้ คุณจะได้มากกว่า แผนเผชิญเหตุเพียง 1 แผน แต่คุณจะมีขีดความสามารถในการรับมือได้กับทุกวิกฤตการณ์ และตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น
การทำ Table-Top Exercise เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ
ผู้บริหารหรือทีมบริหารเหตุวิกฤตขององค์กร สิ่งนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับเหตุวิกฤตที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่คาดการณ์ไว้แล้วว่าอาจเกิดขึ้นหรือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน การทำ Work Shop ของเราจะช่วยให้คุณมองเหตุภาพรวมในการบริหารเหตุวิกฤตในทุกขั้นตอนและสามารถตอบสนองต่อเหตุวิกฤตนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม
การฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนาม จะทำให้คุณทราบถึงปัญหาอุปสรรคและความโกลาหลที่จะเกิดขึ้น โดยเราจะกำหนดสถานการณ์และอุปสรรคต่างๆ ให้กับคุณเพื่อทำการตัดสินใจและแก้ปัญหา ทั้งนี้ เพื่อคุณมีศักยภาพที่มากพอที่จะฟันฝ่ากับเหตุวิกฤตที่ต้องเผชิญ และนำพาธุรกิจให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ โปรดจำไว้ว่า
“แผนที่ดี คือแผนที่เรียบง่ายและทุกคนเข้าใจตรงกัน”
Pol.Lt.Col.
Jitpong Pubuapuan
Deputy Superintendent of Special Operations Unit,
Police Aerial Reinforcement Devision.
Lead Instructor
พ.ต.ท.จิตพงศ์ ภู่บัวเผื่อน
รองผู้กำกับการ 3
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
Expert And Experienced
หลักสูตรต่อต้านก่อการร้าย
หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศ
หลักสูตรโดดร่มแบบกระตุกเอง
หลักสูตรเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด
หลักสูตรรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
หลักสูตรตำรวจตระเวนชายแดน ระดับ ผู้บังคับหมวด
หลักสูตรสารวัตร
หลักสูตรผู้กำกับการ
หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ
หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก